วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

::ระบบงาน E-Commerce::

1. ทดลองและวิจารย์ข้อดี - ข้อเสีย http://findgift.com
    ข้อดี 
 - มีการจัดหมวดหมู่ ประเภทต่าง ๆ ที่ชัดเจน
 - มีการนำเสนอสินค้าที่หลากหลาย
 - มีระบบ blog เพื่อให้เราศึกษาบทความจากเว็บไซต์มากขึ้น

    ข้อเสีย
 - สมัครสมาชิกไปแล้ว ไม่มีอีเมล์ส่งเข้าเมล์ที่สมัคร
 - ไม่มีระบบชำระเงิน
 - มีค่าส่งสินค้าแพง

 - หน้าเว็บ กับระบบชำระเงิน เป็นคนละเว็บไซต์
 - แพงกว่าราคาท้องตลาด


2. ค้นหาเว็บไซต์ระบบงาน E commerce ต่อไปนี้
     - ระบบ Store Front 
       เป็น เว็บไซต์ร้านค้าเสมือน (Virtual Store) ใช้สำหรับนำเสนอเพื่อขายสินค้าและบริการภายในเว็บไซต์ของตนเองเท่านั้น

 เข้าสู่เว็บไซต์ >> http://www.pinksunday.com/index.php

     - ระบบ web Portal

        เป็น web site ที่ผู้ใช้สามารถที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็วโดยที่ portal จะคำนึงถึง ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง กล่าวคือข้อมูลข่าวสารที่แสดงจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้หรือเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้สนใจเท่านั้น



    เข้าสู่เว็บไซต์ >> http://www.csone.co.uk/portfolio/portal.php

     - ระบบ E-procurement
       เป็น ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (E-Procurement) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เช่น การตกลงราคา การตรวจสอบราคา การประกวดราคา และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลงทะเบียนบริษัทผู้ค้า การทำ E-Catalog และการทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อที่เป็น Web Based Application เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง และได้พัสดุที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงานได้  เป็นเว็บไซต์ในกลุ่ม B2B
 เข้าสู่เว็บไซต์ >> http://procurement.rid.go.th/

3. ศึกษาวิธีการโปรโมทเว็บไซต์ หัวข้อดังนี้
     - โปรโมทเว็บไซต์คืออะไร จำเป็นหรือไม่
        การโปรโมทเว็บไซต์นั้นคืออะไร  เป็นการโปรโมทเว็บไซต์ตามหลักความเข้าใจของผู้รีวิวแล้วละมันคือการ ทำแบล็คลิ้งค์อย่างนึงให้กับเว็บซึ่งการโปรโมทนั้นจะมีมากมายหลากหลายช่องทาง ที่เห็นชัด ๆ ก็จะมีแบบเป็นการติด Banner หรือว่าจะเป็นการโปรโมทผ่านเว็บโพสเว็บฟรี หรือว่าจะเป็นการลงโฆษณาบน YouTube พวกนี้เราจะเรียกว่าการโปรโมททั้งหมด
        การโปรโมทเว็บไซต์ช่วยอะไร จำเป็นหรือไม่? อาธิหากคุณเปิดเว็บขายรองเท้าหนึ่งเว็บ หากคุณจะมีลูกค้ามาซื้อรองเท้าในร้านคุณ มันก็ต้องผ่านการโปรโมทมาก่อนนั่นเอง เพราะไม่อย่างนั้นแล้วละก็ ลูกค้าจะมาจากไหน ใครจะมารู้จักร้านคุณเลยคงเป็นไปไม่ได้จริงไหม ดังนั้นจึงต้องมีการโปรโมทร้านค้าด้วยการทำโฆษณาต่าง ๆ ก่อนนั่นเอง การทำโฆษณานั้นมีมากมายโดยคุณสามารถหาผ่าน Google ได้ ว่าการหาแบล็คลิ้งค์นั้นทำได้โดยวิธีไหนบ้าง  นอกจากนี้แล้วละก็การโฆษณานั้นยังช่วยให้คนรู้จักเว็บของคุณได้มากขึ้นเผลอ ๆ อาจจะมีออเดอร์เข้ามานั่นเอง ดังนั้นแล้วละก็การโปรโมทเว็บนั้นเรียกว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ ทีเดียวเลย เป็นจำเป็นมากในการโปรโมทเว็บไซต์

     - โปรโมทอย่างไร ใช้เครื่องมือใดบ้าง
        โปรโมทโดย Google มีเครื่องมือดังต่อไปนี้
          1. Google Analytics
          2. Google Sitemaps
          3. Google Alerts
          4. Google Froogle
          5. Google Checkout

     - เทคนิคของ SEO ที่สำคัญมีอะไร
        Search Engine Optimization หรือที่เรียกกันว่า "SEO" คือ กระบวนการที่ทำให้ เว็บไซต์ ของคุณถูก จัดอันดับ ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ และค้นพบได้ง่ายในอินเตอร์เน็ต โดยมีเทคนิคและ know how ที่สะสมประสบการณ์มาเป็นเวลานาน เราจะเลือกใช้ Keyword ที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นการ เพิ่มโอกาส ให้เว็บไซต์ ให้ผู้เข้าชมเว็บมากขึ้น โดยผ่านช่องทาง Search Engine ต่างๆ

     - Search engine ที่นิยมใช้โปรโมท
  • Google
  • Yahoo
  • bing
  • Ask
  • Aol Search
  • MyWebSearch
  • Lycos
  • Dogpile
  • WebCrawler

==============================END=================================

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

::Assignment :: กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. หาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อต่อไปนี้
      พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึง รูปแบบทางธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวเนื่องกับการประมวลผล และการส่งผ่านข้อมูลติจิตอลรวมทั้ง ข้อมูล เสียงและภาพเคลื่อนไหว โดยรวมถึงผลที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีผลดีต่อองค์กร เช่น การบริหารองค์กร การเจรจาทางธุรกิจ การทานิติกรรมสัญญาการชาระบัญชี รวมทั้งการชาระภาษี เป็นต้น

>> พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
     "อิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอ่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงกรประยุกร์ใช้วิธีการแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น
      "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ธุรกรรมี่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด หรือแต่บางส่วน
       มาตรา ๗ ห้ามิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพัน และการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
       มาตรา ๘ ภายใต้บังคับทบัญญัติแห่งมาตรา ๙ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสรมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สาารถข้าถึง และน้ำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว
       มาตรา ๙  ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว
       มาตรา ๑๐ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือ เก็บรักษาข้อคามใดในสภาพทีเป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นำเสนอหรือ รักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์
       มาตรา ๑๑ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
       มาตรา ๑๓ คำเสนอ หรือคำสนองในการทำสัญญาอาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และห้ามมีิให้ปฏิเสธการมีผลทางกฎหมายของสัญญาเพียงเพราะ เหตุที่สัญญานั้นได้ทำคำเสนอ หรือคำสนองเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
      มาตรา ๑๔ ในระหว่างผู้ส่งข้อมูล และผู้รับข้อมูล การแสดงเจตนา หรือคำบอกกล่าวอาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
      มาตรา ๑๕ บุคคลใดเป็นผู้ส่งข้อมูลไม่ว่จะเป็ฯการส่งโดยวิธีใด ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้นั้น

>> พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1. ฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5-16)
    - การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5) 
      มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง
โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    - การล่วงรู้ถึงมาตรการป้องกันการเข้าถึง (มาตรา 6) 
      มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    - การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 7) 
       มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
    - การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 8) 
      มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น
มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    - การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 9) 
      มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ
บางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    - การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 10) 
      มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    - การส่งสแปมเมล์ Spam Mail (มาตรา 11) 
      มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด
หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ
บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
    - การกระทำความผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12) 
      มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
           (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือ
ในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน
สองแสนบาท
          (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ
คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง
ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ
ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และ
ปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
    - การจำหน่าย / เผยแพร่ชุดคำสั่ง เพื่อใช้กระทำความผิด (มาตรา 13) 
      มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือ
ในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ
มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    - การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ / เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม (มาตรา 14) 
      มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ
ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
         (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
         (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
         (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
         (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
         (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)
(๒) (๓) หรือ (๔)
    - ความรับผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15) 
      มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม
มาตรา ๑๔
    - การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ / ดัดแปลง (มาตรา 16)
      มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม
หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น
เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ
บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
2. เขต (ประเทศ) อำนาจของศาลในการพิจารณาคดี (มาตรา 17) 
    มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
3. อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ (มาตรา 18-21)
    - อำนาจของเจ้าพนักงานโดยเด็ดขาด
            (1) มีหนังสือสอบถาม / ให้ส่งคำชี้แจง ให้ถ้อยคำ
            (2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
            (3) สั่งให้ส่งมอบข้อมูลผู้ใช้บริการตามมาตรา 26
    - อำนาจของเจ้าพนักงานที่ต้องขออำนาจศาล
            (4) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
            (5) สั่งให้บุคคลส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
            (6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
            (7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์
            (8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์
4. อำนาจของ รมต.ไอซีที ระงับการทำให้เผยแพร่.. (มาตรา 20)
    มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลาย
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง
    ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง
พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์นั้นได้
     ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้
พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้
แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
5. บทกำหนดโทษสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ หากเปิดเผย หรือประมาท (มาตรา 22-24)
    มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูล
จราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
    พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของ
ผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ข้อมูลที่ใช้เป็นพยายานหลักฐาน ต้องไม่เกิดจากการจูงใจ หรือข่มขู่ (มาตรา 25)
    มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่
ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
7. การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ (มาตรา 26)
    มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการ
ผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
และเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
8. ข้อกำหนดให้ปฎิบัติตามพ.ร.บ.นี้ (มาตรา 27 - 30)
     มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
     มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้
และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
     มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์
หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงาน
สอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงาน
สอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกัน
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
     มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคล
ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

>> พรบ.ว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
       "ทรัพย์สินทางปัญญา" หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ
          (1)ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
          (2)ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่
                  (1)สิทธิบัตร
                  (2) อนุสิทธิบัตร
                  (3) เครื่องหมายการค้า
                  (4) ความลับทางการค้า
                  (5)สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
                  (6)แบบผังภูมิของวงจรรวม
                  (7)คุ้มครองพันธุ์พืช
                  (8)ภูมิปัญญาท้องถิ่น
         สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น เจ้าของหนังสือจะไม่สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น หรือผู้ซื้อซอร์ฟแวร์จะเป็นเจ้าของสินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซอร์ฟแวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิก่อนเท่านั้น
         ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

>> พรบ.ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
มาตรา ๔ ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครองดังต่อไปนี้
          (๑) สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
             (๒) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
             (๓) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
             (๓ ทวิ) สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
             (๔) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการใดได้บัญญัติเรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้วให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับได้เท่าที่ไม่ซ้ำหรือขัดกับบทบัญญัติดังกล่าว เว้นแต่
             (๑) ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม หากปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวยังมิได้มีการดำเนินการหรือดำเนินการยังไม่ครบขั้นตอนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และมิได้ออกคำสั่งเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายดังกล่าวภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากคณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะกรรมการเสนอเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาออกคำสั่งตามความในหมวดนี้ได้
             (๒) ในกรณีตาม (๑) ถ้ามีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจปล่อยให้เนิ่นช้าต่อไปได้ให้คณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะกรรมการเสนอเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาออกคำสั่งตามความในหมวดนี้ได้โดยไม่ต้องมีหนังสือแจ้งหรือรอให้ครบกำหนดเก้าสิบวันตามเงื่อนไขใน (๑)
             ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายออกคำสั่งเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคตามที่บัญญัติในหมวดนี้ ให้คณะกรรมการเฉพาะเรื่องมีอำนาจออกคำสั่งตามความในหมวดนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายอยู่แล้วคณะกรรมการอาจมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัตินี้แทนคณะกรรมการเฉพาะเรื่องได้
             การมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ ตามวรรคสอง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๖ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าสินค้าใด อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค คณะกรรมการอาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้านั้นได้ ถ้าผู้ประกอบธุรกิจไม่ดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรือดำเนินการล่าช้าโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการจะจัดให้มีการพิสูจน์โดยผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้
             ถ้าผลจากการทดสอบหรือพิสูจน์ปรากฏว่าสินค้านั้นอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และกรณีไม่อาจป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากสินค้านั้นได้โดยการกำหนดฉลากตามมาตรา ๓๐ หรือตามกฎหมายอื่น ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งห้ามขายสินค้านั้น และถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงสินค้านั้นภายใต้เงื่อนไขตามที่คณะกรรมการกำหนดก็ได้ ในกรณีที่สินค้านั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือเป็นที่สงสัยว่าผู้ประกอบธุรกิจจะเก็บสินค้านั้นไว้เพื่อขายต่อไป คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจทำลายหรือจะจัดให้มีการทำลายโดยผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้
          ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วน ถ้าคณะกรรมการมีเหตุที่น่าเชื่อว่าสินค้าใดอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งห้ามขายสินค้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง

2. หาข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปัจจุบัน จากนั้นวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ แนวทางป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหานั้น ๆ
    ข่าว จับเกมละเมิดลิขสิทธิ์ย่านสะพานเหล็กค่าของกลางกว่าล้าน
    ศปลป.ตร. บุกจับแผงขายแผ่นเกมละเมิดลิขสิทธิ์ย่านสะพานเหล็ก ได้ของกลางเกือบหมื่นแผ่น มูลค่า 1.4 ล้านบาท พร้อมนำตัวผู้กระทำผิดดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป...
    เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 15 ม.ค. พ.ต.อ.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผกก.สส.ภ.จว.อ่างทอง ในฐานะหัวหน้าชุดปฎิบัติการศูนย์ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ศลปล.ตร.) รับคำสั่งจาก พล.ต.ท. กฤษฎา พันธุ์คงชื่น ผู้ช่วย ผบ.ตร.ผอ.ศูนย์ฯ ให้นำกำลังชุดเฉพาะกิจ รวม 10 นาย เข้าตรวจสอบร้านค้าแผ่นเกมคอมพิวเตอร์ภายในตลาดสะพานเหล็ก ย่านพาหุรัด หลังมีผู้เข้าร้องเรียนว่ มีการลักลอบนำแผ่นเกมละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามาวางขายจำนวนมาก

ผลการปฏิบัติ สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้ 3 ราย เป็นเจ้าของแผงค้าแผ่นเกมจำวน 3 ร้าน ตรวจยึดของกลางเป็นแผ่นเกมคอมพิวเตอร์ละเมิดลิขสิทธิ์ รวม 7,000 แผ่น มูลค่าความเสียหายกว่า 1,400,00 บาท จึงควบคุมตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลาง ส่งพนักงานสอบสวน สน.จักรวรรดิ ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป.
สาเหตุ
     1. ต้องการลอกเลียนแบบสินค้า
     2. เจาะผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าราคาถูก
     3. สินค้ามีการลอกเลียนแบบได้ง่าย
     4. ไม่มีการตรวจนำสินค้าเข้าประเทศ จังหวัดที่ไม่เข้มงวด

แก้ไขปัญหา
     ควรมีการตรวจตรา ตรวจสอบร้านค้า ทุกร้านที่ขายสินค้าทุกอาทิตย์ เพื่อการลอกเลียนแบบจะได้ไม่มีมากขึ้น ลดปัญหาต่าง ๆ ได้มากมายอีกด้วย

3. ให้นักศึกษาเข้า www.amazon.com แล้วพิจารณาว่า มีมาตราการใดบ้างที่ช่วยคุ้มครองผู้บริโภค และผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกรรมซื้อ - ขายสินค้า
      หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 7 - 25 )
        - รับรองการทาธุรกรรมอีเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด โดยมาตรา 7 ระบุว่า ‚ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์”
        - การรับรองสถานะทางกฏหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการรับ การส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้เป็นหนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ(มาตรา 8)
        - ศาลต้องยอมรับฟังเอกสารอีเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 9 โดยเจตจานงของกฎหมายนี้ ศาลจะเชื่อก็ต่อเมื่อหลักฐานอีเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นของจริงตามหลักการ Authentication และ Non-Repudiation ดังนั้นวิธีการระบุตัวตนด้วยระบบลายมือชื่อดิจิตอลเป็นวิธีที่ศาลจะเชื่อ
การนาเสนอและเก็บรักษาข้อความที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต้นฉบับเอกสาร (มาตรา 10,12)
        - กฎหมายเปิดทางธุรกิจสามารถเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ได้ ตามมาตรา 10 กล่าวว่าข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์ต้องถูกต้องตามข้อความต้นฉบับ การเก็บรักษาข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์คือการรักษาความถูกต้องของข้อมูล ซึ่ง สามารถนา Hash Function มาอธิบายเพื่อการนี้ได้เช่นกัน
        - การรับ การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 15 -24)
        - สัญญาบนธุรกรรมอีเล็กทรอนิกส์จะต้องมีการระบุวันเวลาเช่นกัน ตามมาตรา 23 กล่าวไว้ว่า ‚การรับข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์นั้นเข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล
หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 26 - 31)
หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 32 - 34)
หมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ( มาตรา 35 )
หมวด 5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 36 - 43)
หมวด 6 บทกำหนดโทษ ( มาตรา 44 - 46 )
==============================END====================================

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

::E-Commerce:: Design ตามหลัก 7Cs

        ยกตัวอย่างเว็บไซต์ E-commerce มาคนละ 2 เว็บ อธิบายเทคนิคที่เว็บไซต์ใช้ในการdesign ตามหลัก 7Cs (context Content community Customization Communication Connection Commerce

EX.I  >> http://www.goodchilltravel.com/  เว็บการพาทัวร์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ


 :: ภาพตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ www.goodchilltravel.com ::

  1. รูปลักษณ์ (Context)
    มีโครงสร้างรูปแบบและการจัดวางขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยรวมภายในเว็บไซต์ที่มี
    ความเหมาะสมในการช่วยสื่อความหมายให้เว็บไซต์มีการเข้าใช้งานง่ายและสามารถ
    เข้าไปดูเนื้อหาหรือรายละเอียดของเว็บไซต์ได้อย่างทั่วถึง
    หลักการจัดวางองค์ประกอบของเว็บไซต์
    - Page Variants
    - Fragment Variants
    - Frame-Based
  2. เนื้อหา (Content)
    เนื้อหาของเว็บเพจจะเป็นข้อความ (Text) และมีการผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง
    ภาพเคลื่อนไหวเข้าด้วยกัน เป็นสื่อปฏิสัมพันธ์ โดยเนื้อหาทั้งหมดของหน้าเว็บไซต์นี้มี
    ความชัดเจน เป็นระเบียบ ถูกต้องสวยงาม มีความน่าสนใจในการเข้าดูเว็บไซต์ และมี
    ข้อมูลเป็นปัจจุบัน

    >>ภาพแสดงสินค้าของเว็บไซต์<<

  3. ชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร (Community)
    การออกแบบเว็บไซต์นี้ เป็นการคำนึงถึงเครื่องมือที่ใช้สำหรับติดต่อระหว่างกันภายใน
    ชุมชนหรือการที่ลูกค้าหลาย ๆ คนเกิดความสนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อให้อำนวยความ
    สะดวกในการแสดงข้อคิดเห็นของลูกค้า และทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร
    ให้กับลูกค้าได้ ทั้งทางด้าน E-mail และ Web Board
  4. การปรับแต่ง (Customization)
    การออกแบบเว็บไซต์นี้ มีการตกแต่งรูปลักษณ์ให้ดูน่าสนใจ และมีการจัดวางตำแหน่ง
    ของเมนูคำสั่งต่าง ๆ ให้มีความสะดุดตา น่าค้นหา และการตกแต่งหน้าเว็บมีรูปที่สื่อถึง
    เว็บไซต์ของร้าน รวมทั้งการควบคุมการทำงานของระบบได้ โดยการใช้ฟังก์ชันการ
    โปรโมทสินค้าโดยมีโปรโมชั่นพิเศษของเว็บไซต์ด้วย
  5. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
    เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันภายในเว็บไซต์ E-Commerce โดยมี 2 ลักษณะ คือ
    1. การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว
        1.1) Site-to-User - E-Mail, E-News
        1.2) User-to-Site - Guestbook, Vote
    2. การติดต่อสื่อสารแบบสองทาง - Chatroom

    >>ภาพแสดงการติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว<<
  6. การเชื่อมโยง (Connection)
    การติดต่อกับโลกภายนอก โดยเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ปลายทางที่เกี่ยวข้องกับการ
    ดำเนินธุรกิจ นอกจากจะช่วยส่งเสริมการตลาดในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้
    ประกอบการ ที่เป็นคู่ค้าด้วยกันแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และผู้เยี่ยมชม
    ในการเข้าถึงข้อมูลปลายทางที่สนใจได้โดยตรงอีกด้วย
  7. การทำธุรกรรม (Commerce)
    เว็บไซต์ มีการออกแบบวิธีการในการทำรายการสั่งซื้อสินค้าอย่างเป็นขั้นตอน พร้อม
    ทั้งอธิบายรายละเอียดของวิธีการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนในทุก ๆ กิจกรรม
    ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และเป็นการป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
    อันเนื่องมาจากการไม่เข้าใจถึงวิธีการและกฎเกณฑ์ต่างๆ
>>ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีการจองทัวร์ของเว็บไซต์<<


EX.II >> 
http://www.gifttawan.com/  เว็บการขายสินค้า Gift shop และเสื้อผ้า


:: ภาพตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ www.gifttawan.com ::



  1. รูปลักษณ์ (Context)
    มีโครงสร้างรูปแบบและการจัดวางขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยรวมภายในเว็บไซต์ที่มี
    ความเหมาะสมในการช่วยสื่อความหมายให้เว็บไซต์มีการเข้าใช้งานง่ายและสามารถ
    เข้าไปดูเนื้อหาหรือรายละเอียดของเว็บไซต์ได้อย่างทั่วถึง
    หลักการจัดวางองค์ประกอบของเว็บไซต์
    - Page Variants
    - Fragment Variants
    - Frame-Based
  2. เนื้อหา (Content)
    เนื้อหาของเว็บเพจจะเป็นข้อความ (Text) และมีการผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง
    ภาพเคลื่อนไหวเข้าด้วยกัน เป็นสื่อปฏิสัมพันธ์ โดยเนื้อหาทั้งหมดของหน้าเว็บไซต์นี้มี
    ความชัดเจน เป็นระเบียบ ถูกต้องสวยงาม มีความน่าสนใจในการเข้าดูเว็บไซต์ และมี
    ข้อมูลเป็นปัจจุบัน


    >>ภาพแสดงสินค้าของเว็บไซต์<<

  3. ชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร (Community)
    การออกแบบเว็บไซต์นี้ เป็นการคำนึงถึงเครื่องมือที่ใช้สำหรับติดต่อระหว่างกันภายใน
    ชุมชนหรือการที่ลูกค้าหลาย ๆ คนเกิดความสนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อให้อำนวยความ
    สะดวกในการแสดงข้อคิดเห็นของลูกค้า และทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร
    ให้กับลูกค้าได้ ทั้งทางด้าน E-mail และ Web Board

    >>ภาพแสดงหน้า Web Board<<
  4. การปรับแต่ง (Customization)
    การออกแบบเว็บไซต์นี้ มีการตกแต่งรูปลักษณ์ให้ดูน่าสนใจ และมีการจัดวางตำแหน่ง
    ของเมนูคำสั่งต่าง ๆ ให้มีความสะดุดตา น่าค้นหา และการตกแต่งหน้าเว็บมีรูปที่สื่อถึง
    เว็บไซต์ของร้าน รวมทั้งการควบคุมการทำงานของระบบได้ โดยการใช้ฟังก์ชันการ
    โปรโมทสินค้าโดยมีโปรโมชั่นพิเศษของเว็บไซต์ด้วย

    >>ภาพแสดงหน้าโปรโมชั่น<<

  5. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
    เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันภายในเว็บไซต์ E-Commerce โดยมี 2 ลักษณะ คือ
    1. การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว
        1.1) Site-to-User - E-Mail, E-News
        1.2) User-to-Site - Guestbook, Vote
    2. การติดต่อสื่อสารแบบสองทาง - Chatroom

    >>ภาพแสดงการติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว<<
  6. การเชื่อมโยง (Connection)
    การติดต่อกับโลกภายนอก โดยเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ปลายทางที่เกี่ยวข้องกับการ
    ดำเนินธุรกิจ นอกจากจะช่วยส่งเสริมการตลาดในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้
    ประกอบการ ที่เป็นคู่ค้าด้วยกันแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และผู้เยี่ยมชม
    ในการเข้าถึงข้อมูลปลายทางที่สนใจได้โดยตรงอีกด้วย
  7. การทำธุรกรรม (Commerce)
    เว็บไซต์ มีการออกแบบวิธีการในการทำรายการสั่งซื้อสินค้าอย่างเป็นขั้นตอน พร้อม
    ทั้งอธิบายรายละเอียดของวิธีการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนในทุก ๆ กิจกรรม
    ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และเป็นการป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
    อันเนื่องมาจากการไม่เข้าใจถึงวิธีการและกฎเกณฑ์ต่างๆ

  8. >>ภาพแสดงการแจ้งชำระเงินผ่านธนาคาร<<

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

::E-Commerce:: Exercises1

สรุปหัวข้อและอธิบายเพิ่มเติม

1.Electronic Data Interchange Law : EDI



        คือ   การสับเปลี่ยนเอกสารการซื้อขายทางธุรกิจระหว่างองค์กรมาตราฐาน 2 องค์กรขึ้นไปผ่านทางคอมพิวเตอร์โดยตรง  เพื่อรับรองสถานะ ทางกฎหมาย ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆโดยเฉพาะในวงการค้าการ ขนส่งระหว่างประเทศทำให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทั้งด้านเวลา และสถานที่ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งองค์กรภายในและองค์กรภายนอก ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการใช้มาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปในรูปแบบ(format) และโครงสร้างข้อมูลที่ส่งถึงกัน

การรับรองสถานะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  (มาตรา 7, 9 และ 11)
                      1. สามารถเข้าถึงได้ด้วยการอ่าน
                      2. สามารถแปลงกลับมาเป็นข้อความที่นํามาใช้อ้างอิงในภายหลังได้
         ลักษณะการดำเนินงานของระบบ EDI
                  การดำเนินงานของระบบ EDI มีขั้นตอนซึ่งทำหน้าที่ในการประสานงานกันหลายอย่างที่สำคัญ  คือ
                 1. มี EDI Gateway ( Tradesiam )      ซึ่งมีหน้าที่เปรียบเสมือนกรมไปรษณีย์กลางอิเล็กทรอนิกส์  ตั้งประจำการเพื่อเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมระบบของการรับ – ส่ง   และแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจกับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ   ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวัฏจักรการดำเนินงานธุรกิจทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนจากต้นทาง ( ผู้ส่ง ) ไปยังปลายทาง ( ผู้รับ )
                 2. โดยมี VANS ซึ่งมีหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นศูนย์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตามเขตต่าง ๆ ที่คอยให้บริการและดูแลระบบ EDI ตามขอบเขตและหน้าที่ของแต่ละ VANS ด้วยการดูแล  และรับผิดชอบเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ทำให้การรับส่ง และแลกเปลี่ยนกันจนถึงปลายทางอย่างถูกต้อง  รวมทั้งการได้รับความปลอดภัยทางด้านข้อมูลที่สามารถแสดงผลด้วยการลงบันทึกรายงานในแต่ละวัน และทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

                 3. เอกสารธุรกิจที่รับ – ส่ง โดยผ่านทางระบบ EDI นั้น จะต้องผนึกด้วยซองอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นซองที่ได้รับมาตราฐานของการใช้รับ – ส่ง   และแลเปลี่ยนเอกสารธุรกิจผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก  หรือที่สากลให้การยอมรับในนามของ UN/ EDIFACT

ประโยชน์ของ EDI
            1. ช่วยลดข้อผิดพลาด (Reduced errors) โดยปกติแล้วการนำข้อมูลเข้าระบบ มักจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นหากมีการลดข้อผิดพลาดตรงนี้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก                2. ช่วยลดงบประมาณ (Reduced Costs) เป็นการช่วยลดงบประมาณในเรื่องของเอกสาร และคู่มือการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนขององค์กรในเรื่องของการช่วยลดงานด้านเอกสาร
              3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน (Increased Operational Efficiency)บริษัทต่าง ๆ นั้นได้รับประโยชน์อย่างมากในการเข้าร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เพราะฉะนั้น มีความเป็นไปได้สูงมากที่บริษัทเหล่านี้จะนำเอาระบบ EDIไปใช้เพื่อขยายฐานบริษัทของตนเองให้กว้างไกลออกไปยิ่งขึ้น     และถือเป็นโอกาสที่ดีมาก  ที่จะพัฒนาธุรกิจของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่ง เพราะระบบ EDIจะเข้าไปแทนที่ระบบเอกสาร

           4. ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Increased ability to Compete) ด้วยการผสมผสานกันระหว่างข้อดีของการช่วยลดงบประมาณ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ดีที่มีอยู่ชนิดเดียวในเวลานี้  มันมีความเป็นไปได้ที่องค์กรระหว่างประเทศจะเน้นการนำเอาระบบ EDI มาใช้ในการติดต่อระหว่างบริษัทในเครือสมาชิก  ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทซึ่งเป็นผู้แข่งขันสามารถที่จะมีกระบวนการเทคโนโลยีที่สอดรับกับผลิตภัณฑ์  และนอกจากนั้นยังเป็นการเสนอการบริการที่ดีให้กับลูกค้าด้วย 

          ปัญหากฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
                 1.ความสมบูรณ์ของเนื้อหาทางกฎหมาย
                  2.ลายเซ็น
                  3.ลายลักษณ์อักษร  จะรวมถึงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
                  4.ยากแก่การระบุเอกสารต้นฉบับ
                  5.พยานหลักฐาน เนื่องจากข้อมูลมาจากหลายส่วน
                  6.การเกิดขึ้นของสัญญา ที่ไหน เมื่อไร  
            
              หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
         1. กระทรวงพาณิชย์
         2. กระทรวงยุติธรรม
         3. กระทรวงคมนาคม
         4. กระทรวงการต่างประเทศ
         5. กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

--------------------------------------------------------------------------------------------
2.Customer Relationship Management : CRM



        การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ คือ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการ ใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของ ธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด

เป้าหมาย
        CRM นั้นไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้ัน  แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป

ประโยชน์ของ CRM
        1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer Behavior
        2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
        3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
        4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
     5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ

กระบวนการทำงานของระบบ มี 4 ขั้นตอนดังนี้
       1. Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร
       2. Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่มีต่อบริษัท
      3. Interact มีฎิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
       4. Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3.Enterprise Resource Planning : ERP



     คือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร 
        ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ 
       1. การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP 
       จุดเด่นของ ERP คือ การบูรณาการระบบงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง การผลิต การขาย บัญชีการเงิน และการบริหารบุคคล ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้าน การไหลของวัตถุดิบสินค้า (material flow) และการไหลของข้อมูล (information flow) ERP ทำหน้าที่เป็นระบบการจัดการข้อมูล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด พร้อมกับสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว


       2. รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP 
       การรวมระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP จะเกิดขึ้นในเวลาจริง(real time) อย่างทันที เมื่อมีการใช้ระบบ ERP ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวัน เป็นรายวัน คำนวณ ต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน


       3. ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database) แบบสมุดลงบัญชี 
       การที่ระบบ ERP สามารถรวมระบบงานต่าง ๆ เข้าเป็นระบบงานเดียว แบบ Real time ได้นั้น ก็เนื่องมาจากระบบ ERP มี database แบบสมุดลงบัญชี ซึ่งมีจุดเด่น คือ คุณสมบัติของการเป็น 1 Fact 1 Place ซึ่งต่างจากระบบแบบเดิมที่มีลักษณะ 1 Fact Several Places ทำให้ระบบซ้ำซ้อน ขาดประสิทธิภาพ เกิดความผิดพลาดและขัดแย้งของข้อมูลได้ง่าย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4.ความแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับ E-Commerce
         การทําธุรกิจทั่วไป เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ กิจกรรมที่เกี่ยวกับธนาคาร การขนส่ง หรือกระบวนการทั้งปวงของการนําทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนสภาพด้วย
กระบวนการต่างๆ จนเป็นสินค้าและนําไปจําหน่ายให้แก่ผู้บริโภค สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น

            E-Commerce สามารถเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้ง่าย เนื่องจากเปิดร้านค้าในอินเทอร์เน็ตช่วยให้
ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถติดต่อลูกค้าได้ตลอดเวลา และลูกค้าสามารถติดต่อธุรกิจโดยตรง นอกจากนี้การทําพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการค้าจากรูปแบบเดิม เช่น เว็บเพจสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติ ทําให้ลดภาระเรื่องแรงงาน, สามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้ทั่วโลก, สะดวกรวดเร็ว, ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าได้จากทุกที่โดยไม่ต้องมาที่ร้าน และร้านค้าทางอินเทอร์เน็ตยังสามารถทําการคาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจในภาวการณ์แข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงในขณะนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
5.ข้อดี - ข้อเสียของ E-Commerce ในมุมมองของ องค์กร,ลูกค้า,สังคม



      1. ต่อลูกค้า
         - มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย
         - ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง         
         - ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว         
         - ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด
         - สนับสนุนการประมูลเสมือนจริง
         - ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้ารายอื่นได้
         - ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานภายในโซ่มูลค่า (Value Chain Integration)

      2. ต่อองค์กร
         - ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก
         - ทำให้บริการลูกค้าได้จำนวนมากทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ
         - ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล การกระจายการเก็บและการดึงข้อมูลได้ถึงร้อยละ 90
         - ลดต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะ อินเทอร์เน็ตราคาถูกกว่าโทรศัพท์
         - ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้
         - ทำให้การจัดการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

      3. ต่อสังคม
        - ทำให้คนสามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง ทำให้การจราจรไม่ติดขัด ลดปัญหามลพิษทางอากาศ
        - ทำให้มีการซื้อขายสินค้าราคาถูกลง คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐานการขายสินค้าและบริการได้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
6.หาเว็บไซต์ ในกลุ่มแสวงหากำไร ประเภทละ 10 เว็บ



1.  http://www.microsoft.com
2.  http://www.cpall.co.th/Home#special-scoop
3.  http://www.central.co.th
4.  http://www.aia.co.th/th
5.  http://www.dtac.co.th/home
6.  http://www.goodsshop.in.th
7.  http://www.princess-mall.com 
8.  http://www.missblendy.com/
9.  http://www.yayafashionpreorder.com 
10.http://www.tukatacenter.com/

------------------------------------------------------------------------------------------------------------